วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทานแบบ 5 แถบสี

ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด

ตารางตัวอย่างตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี

แบบ 6 สี


ความต้านทานแบบ 6 สี จะอ่านค่า 5 แถบสีแรกแบบความต้านทาน 5 แถบสี ส่วนสีที่ 6 คือค่า Temperrature Coefdicient (CT) หรือสัมประสิทธ์ทางอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น ppm (part per million : ส่วนในล้านส่วน) เป็นค่าแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป


แหล่งอ้างอิง
Web-Based Instruction.:.อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ตัวต้านทาน.:.. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก:http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/note/content3.html
การอ่านตัวความต้านทาน. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก:http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=62.0

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทานแบบ 4 แถบสี

ตัวต้านทานชนิดคาคงที่โดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น แบบใช้งานทั่วไป และแบบความเที่ยงตรงสูง ซึ่งตัวต้านทานแบบที่ใช้งานทั่วไปจะมีค่าความคลาดเคลื่อน ฑ5 % หรือมากกว่าและแถบสีแสดงแทนค่าความต้านทานจำนวน 4 แถบ ส่วนตัวค่าความต้านทานแบบเที่ยงตรงสูงจะมีค่าความคลาดเคลื่อน ฑ2 % หรือน้อยกว่า โดยจะมีแถบสีแสดงค่าความต้านทานจำนวน 5 แถบ ส่วนความแตกต่างของตัวต้านทานทั้งสองแบบนี้แสดงในรูป


1. แถบสีแรก ใช้แสดงตัวเลขหลักแรก และจะไม่เป็นสีดำ


2. แถบสีที่สอง ใช้แสดงเป็นตัวเลขหลักที่สอง

3. แถบสีที่สาม เป็นตัวคูณสำหรับตัวเลข 2 หลักแรก ซึ่งจะมีค่า 1/100 ถึง 10,000,000


4. แถบสีที่สี่ ใช้แสดงค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งมีค่าตั้งแต่ +-5 % ขึ้นไป

แหล่งอ้างอิง


การอ่านค่าความต้านทาน. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก:http://www.chontech.ac.th/~electric/e-learn/unit11/unit11.htm